กำเนิดดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ได้ก่อกำเนิดทั่วจักรวาลมากที่สุดตลอดการดำรงอยู่ของจักรวาล ที่ใด มีกลุ่มหมอกควันขนาดใหญ่เกิดขึ้น ที่นั้น
ก็จะมีดาวฤกษ์หลายพันดวงเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
กลุ่มหมอกควันที่ให้กำเนิดดาวฤกษ์ ก็เย็นลงและมีความหนาแน่น ตลอดจนมีก๊าซไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ ดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ ๆ เป็นลูกไฟร้อนขนาดมหึมา หมุนเคว้งคว้างอยู่ มีก๊าซเรืองแสงคือก๊าซไฮโดรเจนเป็นส่วนมาก ก๊าซฮีเลียมและธาตุอื่น ๆ เล็กน้อย ส่วนมากวัตถุเหล่านี้จะเกาะกันเป็นก้อนหนาแน่นในใจกลางดาวฤกษ์ ซึ่ง ณ ที่นั่นเกิดมีปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นปล่อยพลังงานออกมาเป็นรูปความร้อนและดวงไฟ |
ดาวฤกษ์ดวงใหญ่ที่สุดในท้องฟ้าตอนกลางคืน
ใหญ่พอที่จะกลืนดวงอาทิตย์ของเราหลายพันล้านเท่า
|
กระบวนการเกิดขึ้นของดาวฤกษ์
กระบวนการก่อตัวของดาวฤกษ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อเมฆหมอกเกิดความเปลี่ยนแปลงและระเบิดออกเป็นเศษเล็กเศษน้อย
วัตถุที่หนาแน่นกว่าก็ดึงดูดวัตถุเศษเล็กเศษน้อยเข้าเป็นกลุ่มก้อน
และค่อย ๆ ก่อตัวเป็นรูปทรงกลมพร้อมกับหดตัวเข้า ต่อมา ดาวฤกษ์ก่อนเกิด (protostar)
ซึ่งจะกลายเป็นดาวฤกษ์ ก็หดตัวไปเรื่อย ๆ
แกนกลางก็หนาแน่นและร้อยแรง
ในที่สุด ความกดดันและอุณหภูมิก็สูงขึ้นจนกระทั่งเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
และดาวฤกษ์ก็เริ่มส่องแสง
|
|
||
1. กลุ่มเมฆหมอกระหว่างดาว
(Interstellar cloud)
ดาวฤกษ์กำเนิดขึ้นภายในกลุ่มก๊าซและธุลีอันมหาศาล
เย็น และหนาแน่
กระบวนการก่อกำเนิดดาวฤกษ์อาจจะระเบิดกระจายออกมา ถ้ามีบางสิ่งบางอย่างไปรบกวนกลุ่มควันเหล่านั้น
เช่น การชนกับกลุ่มควันอีกกลุ่มหนึ่งหรือคลื่นกระแทกจากการระเบิดของ ซูเปอร์โนวา (ดาวฤกษ์ที่สว่างกว่าดวงอาทิตย์)
|
2 การแตกกระจายเป็นเศษเล็กเศษน้อย
ระยะนี้กลุ่มควันเกิดการเปลี่ยนแปลง
ระเบิดเป็นเศษเล็กเศษน้อย มีขนาดและมวลต่าง ๆ กัน
กลุ่มควันที่เป็นเศษเล็กเศษน้อยเหล่านี้ที่มีมวลมากและหนาแน่น จะดึงดูกันเกาะเป็น กลุ่มที่หนาแน่นมากขึ้นตามลำดับ ในที่สุด
กลุ่มควันเศษเล็กเศษน้อยเหล่านี้ก็จะกลายเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด (protostars)
|
3
ดาวฤกษ์ก่อนเกิด (Protostar)
ดาวฤกษ์ก่อนเกิดก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้น
แรงโน้มถ่วงก็จะดึงวัตถุเข้าไปสู่แกนกลางของมัน
มีความหนาแน่น ความกดดันและอุณหภูมิมากขึ้น
กลุ่มควันเหล่านี้ที่มีอุณหภูมิและความกดดันมากขึ้นก็จะวิวัฒนาการเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด (คือวัตถุขนาดใหญ่ที่ก่อตัวขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของแก๊สในเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ซึ่งอยู่ในสสารระหว่างดาว)
|
ประเภทของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์เริ่มส่องแสงเมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์ในแกนกลางของมันแปลงไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมและปล่อยพลังงานออกมา
แล้วเรียกกันว่าดาวลำดับหลัก (main sequence star) ดาวลำดับหลักไม่ได้เหมือนกันทุกดวง
แต่แตกตากกันในด้านขนาด อุณหภูมิ สี แสงสว่าง และมีสสารจำนวนมาก
เมื่อดาวฤกษ์เริ่มหมดเชื้อเพลิงและใกล้จะดับสลาย จะหยุดเป็นดาวลำดับหลัก
และอาจจะขยายตัวแล้วกลายเป็นดาวยักษ์แดงหรือหดตัวเป็นดาวแคระขาว
|
การจำแนกดาวฤกษ์
ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (Hertzsprung–Russell
diagram) เป็นกราฟที่มีชื่อเสียงที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการจำแนกดาวฤกษ์
กราฟวางแผนผังความสว่างกับอุณหภูมิและเผยให้เห็นว่ามีการจัดกลุ่มดาวฤกษ์อย่างชัดเจน
เช่น ดาวยักษ์แดง (ดาวที่กำลังจะดับ) และดาวลำดับหลัก (ดาวสามัญ)
นักดาราศาสตร์ยังจำแนกดาวด้วยสีซึ่งเชื่อมโยงกับอุณหภูมิของดาวเหล้านั้น ดาวที่ยังร้อนจะมีสีฟ้า
ดาวที่เย็นจะมีสีส้มหรือสีแดง
|
4 จุดที่หมุนเป็นวงกลม
มวลที่เพิ่มขึ้นที่จุดศูนย์สร้างแรงโน้มถ่วง
ดึงดูดก๊าซและธุลีเป็นอันมากเข้าไปภายใน
มีวัตถุเล็กน้อยคล้ายกับน้ำไหลระบายออกมา
ถูกดูดเข้าไปในดาวฤกษ์หมุนเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ
ลมที่มีกำลังมากก็วิวัฒนาการขึ้นมา พัดเอากลุ่มก๊าซพวยพุ่งออกมาจากจุดศูนย์กลาง
|
5 เกิดเป็นดาวฤกษ์
ใจกลางของดาวฤกษ์ก่อนเกิดถูกแรงโน้มถึงบีบอัด
ก็ร้อนและหนาแน่นมากขึ้นจนกระทั่งเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
และดาวฤกษ์ก็เริ่มส่องแสง
ใจกลางที่เรืองแสงก็ทำให้เกิดความกดดันออกมาภายนอก
ซึ่งมีความสมดูลกับการดึงดูดของแรงโน้มภายใน ทำให้ดาวฤกษ์เกิดเสถียรภาพ
ต่อมาก็เป็นดาวฤกษ์ดวงสำคัญตามลำดับ
|
6 ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้น
วัตถุที่เกิดจากกลุ่มควันก๊าซไม่ได้เกิดเป็นดาวฤกษ์เสียทั้งหมด
วัตถุที่หลงเหลือจากจุดที่หมุนเป็นวงกลมของก๊าซและธุลีซึ่งอยู่รอบ ๆ ดาวฤกษ์
เป็นเศษเล็กเศษน้อย อาจะสูญหายไปในอวกาศ หรืออาจจะเกาะกลุ่มก้อนเกิดเป็นโลก
พระจันทร์ และดาวหาง ตลอดจนดาวเคราะห์
|
เนบิวลา กำเนิดดาวฤกษ์ (Starbirth nebulas – ผู้รู้แนะนำด้วยครับ ขอบพระคุณมาก)
กลุ่มก๊าซและธุลีในอวกาศ เรียกว่า เนบิวลา ก๊าซและธุลีจำนวนมากในเนบิลา คือ
เศษซากจากดาวฤกษ์เก่าที่ระเบิด
ในขณะที่วัตถุเหล่านั้นหลุดออกมาจากเปลวเพลิง
เป็นเวลามากกว่าหลายล้านปี วัตถุนี้ก็กลับกลายไปเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่
เนบิวลา กำเนิดดาวฤกษ์จัดอยู่ในหมู่วัตถุที่สวยงามมากที่สุดในอวกาศ กลุ่มควันที่เป็นสีเปล่งประกายออกมาจากข้างในมีแสงสีฟ้าของดาวเกิดใหม่
|
เนบิวลานายพราน (Orion Nebula)
เนบิวลานายพรานเป็นย่านกำเนิดดาวฤกษ์มวลมากที่อยู่ใกล้กับโลกมากที่สุดแห่งหนึ่ง
ในท้องฟ้าตอนกลางคืน จะมองเห็นลาง ๆ
ตรงบริเวณที่เป็นดาบของนายพราน
ความจริงแล้ว มันเป็นกลุ่มก๊าซและธุลีที่ใหญ่กว่าระบบสุริยะหลายพันเท่า
|
กระจุกดาว (Star clusters)
ดาวฤกษ์ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง
เกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อนจากกลุ่มวัตถุเมฆหมอกอันเดียวกันในเวลาเกือบเป็นเวลาเดียวกัน
ในที่สุด กลุ่มดาวฤกษ์จะลอยออกจากกันและอยู่ตามลำพัง ในอวกาศ
หรือมีสหายสนิทดวงเดียวหรือสองดวง ดวงอาทิตย์ของเรา
ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ชิดเราที่สุด ก็อยู่โดยลำพัง ดาวฤกษ์ในท้องฟ้าตอนกลางคืนประมาณเศษหนึ่งส่วนสาม
จะอยู่เป็นคู่ เกาะกลุ่มกันด้วยแรงโน้มถ่วง
|
กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades cluster)
ดาวฤกษ์ประมาณ
5,000 ดวง ที่เกาะกลุ่มกันเป็นกระจุกดาวลูกไก่
เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงปริมาณเล็กน้อย (เห็นได้ประมาณ 7 ดวง)
เวลาประมาณอีก 250 ล้านปี ดาวฤกษ์เหล่านี้ก็จะกระจายออกจากกันและกลุ่มดาวเหล่านั้นก็จะมีอายุอยู่ได้ไม่นาน
|
No comments:
Post a Comment