กาแลกซี/ทางช้างเผือก

กาแลกซี
ดวงอาทิตย์ของเราอยู่ในวังวนดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ ที่เรียกว่าทางช้างเผือก (the Milky Way)  กลุ่มดาวฤกษ์ขนาดใหญ่มหึมา เรียกว่า กาแลกซี และกาแลกซีทางช้างเผือกก็กว้างใหญ่ไพศาลเหมือนกาแลกซีทุกกาแลกซี

กาแลกซีมีมากมายหลายรูปและหลายขนาด  บางกาแลกซีหมุนเป็นวังวนเหมือนกาแลกซีของเรา แต่กาแลกซีอื่น ๆ เป็นกลุ่มควันไม่มีรูปทรง กาแลกซีที่เล็กที่สุดมีดาวฤกษ์เพียงไม่กี่ล้านดวง กาแลกซีที่ใหญ่ที่สุดมีดาวฤกษ์ถึงล้านล้านดวง แม้ว่ากาแลกซีเหล่านั้นมองดูเหมือนเต็มไปด้วยดาวฤกษ์ก็จริง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอวกาศที่ว่างเปล่า ถ้าคุณสร้างแบบจำลองมาตราส่วนทางช้างเผือกด้วยการเอาเม็ดทรายแทนดาวฤกษ์แต่ละดวง ดาวฤกษ์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จะอยู่ห่างออกไป 4 ไมล์ (6 กิโลเมตร)

ดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลที่สุด อยู่ไกลถึง 80,000 ไมล์ (130,000 กิโลเมตร) ดาวในจักรวาลจะถูกแรงโน้มถ่วงดึงเข้าหากันและการเดินทางไปรอบ ๆ ศูนย์กลางกาแลกซี อย่างช้าๆ ในกาแลกซีจำนวนมาก รวมทั้งกาแลกของเรา มีหลุมดำที่มีมวลมหาศาลซ่อนอยู่ศูนย์กลาง  ดาวฤกษ์และวัตถุอื่น ๆ จะถูกดูดเข้าไปในหลุมดำของจักรวาลนี้ด้วยแรงโน้มถ่วงและหายไปตลอดกาล

ทางช้างเผือก (The Milky Way)
หากคุณสามารถมองลงมาจากด้านบนของกาแลกซีทางช้างเผือก มุมมองของคุณจะเหมือนลอยอยู่เหนือเมืองที่มีแสงระยิบระยับในเวลากลางคืน ดาวฤกษ์ของกาแลกซี 200,000,000,000 (สองแสนล้าน) ดวง ส่วนมากจะรวมกันอยู่ตรงกระเปาะกลาง (the central bulge) มีแขนกังหัน (spiral arms) ขนาดใหญ่สองแขน และขนาดเล็กมากมายหมุนรอบกระเปาะกลางนี้ ทางช้างเผือก เข้าใจว่า น่าจะเป็นชนิดก้นหอยมีคาน  แต่เราไม่สามารถมองเห็นรูปร่างของมันได้อย่างชัดเจน เมื่อมองจากโลก เนื่องพวกเราอยู่ในกาแลกซี (ไม่ได้อยู่นอกแกแลกซี) ในท้องฟ้าตอนกลางคืน ทางช้างเผือกจะมองเห็นเป็นเพียงวงแสงสีน้ำนม


กาแลกซี


  
ศูนย์กลางแกแลกซี


 

  เนบิวลาปู (Crab Nebula)


1. ศูนย์กลางกาแลกซี
ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด (ไวต่อความร้อน) นี้  แสดงให้เห็นดาวฤกษ์และกลุ่มก๊าซเกาะกลุ่มอยู่ใจกลางของทางช้างเผือก หลุมดำที่มีมวลมหาศาล น่าจะซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่งในพื้นที่นี้
2.  ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะของเราอยู่ในแขนกังหันเล็ก (a minor spiral arm)  ที่เรียกว่า แขนนายพราน (the Orion Arm)  เราโคจรรอบศูนย์กลางของกาแลกซีครั้งละทุก ๆ 200 ล้านปี การเดินทาง ประมาณ 120 ไมล์ (200 กิโลเมตร) ต่อวินาที
3. เนบิวลาปู (Crab Nebula)
กลุ่มควันก๊าซและผงธุลีเกิดขึ้นทั่วทางช้างเผือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขนกังหัน เนบิวลาปูเป็นกลุ่มควันของซากที่เหลืออยู่จากการดับของดาวฤกษ์ที่ระเบิดแล้ว

4.  กระจุกดาวทรงกลม
ดาวฤกษ์ไม่ได้มีเฉพาะที่ทางช้างเผือกซึ่งอยู่ในวงกลมหลักของกาแลกซีเท่านั้น  ยังมีดาวฤกษ์อีกมากมายอยู่ในกระจุกดาวทรงกลม (globular clusters) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์โบราณเกาะกลุ่มกันแน่นลอยอยู่ด้านบนและด้านล่างของกาแลกซีในพื้นที่ทรงกลมที่เรียกว่ากลดดาราจักร  (the halo)



7 ล้านล้าน คือจำนวนจักรวาลคร่าว ๆ ที่พอสังเกตได้

6,000 ปี คือ ระยะเวลาใช้นับดาวฤกษ์ของทางช้างเผือกในอัตราหนึ่งวินาที
รูปทรงของกาแลกซี
นักดาราศาสตร์จำแนกกาแลกซีออกเป็นประเภทหลักสองสามประเภท ขึ้นอยู่กับรูปร่างmที่พวกเราสังเกตได้จากโลก

กาแลกซีแบบกังหัน

กาแลกซีแบบกังหัน
ใจกลางของดาวฤกษ์จะถูกล้อมรอบด้วยแขนกังหันที่โค้งออก


กาแลกซีชนิดก้นหอยมีคาน

กาแลกซีชนิดก้นหอยมีคาน
แถบตรงวิ่งข้ามศูนย์เชื่อมต่อแขนกังหัน


กาแลกซีชนิดรูปไข่หรือกาแลกซีวงรี

กาแลกซีชนิดรูปไข่หรือกาแลกซีวงรี
มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของกาแลกซีทั้งหมด มีรูปทรงกลมเรียบง่าย

กาแลกซีไร้รูปแบบ

กาแลกซีไร้รูปแบบ
กาแลกซีที่มีรูปร่างไม่แน่ชัด จัดเป็นกาแลกซีชนิดไร้รูปแบบ
แขนกังหันเกิดขึ้นได้อย่างไร
ดาวฤกษ์ในกาแลกซีโคจรรอบศูนย์กลาง ใช้เวลาหลายล้านปีจึงได้หนึ่งรอบ แขนกังหันจะปรากฏตรงที่ดาวฤกษ์ลอยผ่านเข้ามาและผ่านออกไปจากพื้นที่อันหนาแน่น  คล้ายกับรถยนต์ผ่านเข้ามาชั่วคราวทำให้จราจรติดขัด      ทฤษฎีหนึ่งก็คือว่าการจราจรคับคั่งเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะวงโคจรของดาวฤกษ์ต่าง ๆ ไม่เรียงเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบ
กาแลกซีชนกัน
บางครั้งกาแลกซีเกิดชนกันและกระจัดกระจายออกจากกัน  ดาวฤกษ์แต่ละดวงไม่ได้ชนกัน แต่กลุ่มก๊าซต่างที่ชนกัน และแรงโน้มถ่วง ดึงกาแลกซีที่กำลังชนกันเกิดเป็นรูปทรงขึ้นมาใหม่



กาแลกซีไม่มีแขนกังหัน

  
ถ้าดาวฤกษ์ทุกดวงมีความเป็นระเบียบ มีวงโคจรขนานกัน กาแลกซีจะไม่มีแขนกังหัน

กาแลกซีมีแขนกังหัน


ถ้าดาวฤกษ์ทุกดวงโคจรไม่เป็นแนวระเบียบเรียบร้อย จะเกิดความคับคั่ง กาแลกซีจึงมีแขนกังหัน

การสิ้นสุดของทางช่างเผือก

การสิ้นสุดของทางช่างเผือก

อีก 4 พันล้านปีกาแลกซีของเราจะชนกับกาแลกซี่     แอนดรอมิดา (Andromeda) ความประทับใจของศิลปินนี้แสดงให้เห็นว่าท้องฟ้าอาจจะดูเหมือนจะเข้ามารวมกัน

No comments:

ที่มา:
1. DK Smithsonian, Knowledge Encyclopedea, First American Edition, 2013 Published in the United States.
2. Wikipedia, The Free Encyclopedia