ดวงจันทร์ (The Moon)

ดวงจันทร์ (The Moon)
ดวงจันทร์เป็นเพื่อนบ้านในอวกาศที่ใกล้เคียงที่สุดของโลกและ มองดูขนาดใหญ่กว่าวัตถุอื่น ๆ ในท้องฟ้ายามค่ำคืน พื้นผิวพรุนของมันอาจจะหนาวและไม่มีชีวิตชีวา แต่ลึกลงไปด้านในดวงจันทร์เป็นลูกเหล็กขนาดยักษ์สีขาวร้อน

โลกและดวงจันทร์อยู่ด้วยในอวกาศมาตั้งแต่ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้นจากการชนกันของจักรวาล ดวงจันทร์โคจรรอบโลกของเรา หันหน้ามาทางโลกเราด้านเดียวตลอดเวลา ในขณะที่เราจ้องมองบนพื้นผิวของดวงจันทร์ที่ถูกแสงอาทิตย์ เราจะเห็นภูมิทัศน์ของดวงจันทร์แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ 3.5 พันล้านปีที่ผ่านมา (3,500,000,000 ปี) ย้อนไปเมื่อดวงจันทร์ยังเกิดขึ้นใหม่ มันถูกดาวเคราะห์ชนแล้วชนเล่า

เป็นเวลาหลายล้านปีที่ดาวเคราะห์กระหน่ำชนพื้นผิวจนเกิดเป็นปล่องภูเขาไฟ  ครั้นแล้ว วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในปล่องภูเขาไฟเหล่านี้ก็ไหลไปกับลาวาภูเขาไฟ เกิดเป็นพื้นที่ราบที่มืดทึบมีลักษณะเหมือนทะเล


ชั้นของดวงจันทร์
ดวงจันทร์ก็เหมือนกับโลกประกอบไปด้วยชั้นต่าง ๆ แยกออกจากกันมานานแล้ว ในครั้งที่ส่วนประกอบภายในถูกหลอมเหลว แร่ธาตุที่มีน้ำหนักเบาจะลอยขึ้นไปด้านบนและโลหะหนักจะจมลงไปที่ใจกลาง ชั้นนอกสุดเป็นเปลือกหินบาง ๆ เหมือนกับหินบนโลก

ลึกลงไปใจกลางดวงจันทร์ จะร้อนกว่าบนพื้นผิว ส่วนล่างจะถูกหลอมเหลวเป็นบางส่วน   ในใจกลางของดวงจันทร์จะเป็นแกนเหล็ก ร้อนประมาณ 2,600 ° F (1,400 ° C) จากพลังงานธาตุกัมมันตรังสี นักวิทยาศาสตร์คิดว่า แกนด้านนอกถูกหลอมละลาย แต่แกนด้านในถูกแรงดันของหินที่อยู่รอบ ๆ บีบเข้าจนเป็นของแข็ง


ดวงจันทร์



หลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์





มนุษย์บนดวงจันทร์


หุบเหวลึก Hadley Rille

หลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์
หลุมอุกกาบาตมีอยู่ทั่วทุกมุมบนดวงจันทร์ กว้างประมาณ 2 3 ไมล์ เป็นรูโพรงรูปร่างคล้ายชาม เรียงรายไปถึงที่ราบขั้วใต้-Aitken (South Pole–Aitken Basin) อันกว้างใหญ่ไพศาล  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,600 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีหลุมอุกกาบาตจำนวนมาก เช่น อีราโทสธีนีส (Eratosthenes)  (ดูภาพ) มีเนินเขาเป็นศูนย์กลางซึ่งเกิดขึ้นเป็นพื้นดินที่ดีดตัวขึ้นหลังจากการโจมตีของดาวเคราะห์น้อย

มนุษย์บนดวงจันทร์
นักบินอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ 6 ครั้ง ในช่วงโครงการอพอลโลของนาซา นักบินอวกาศได้พบโลกแห่งพื้นที่ราบเป็นฝุ่นละอองสีเทาและเนินเขาเป็นระลอกภายใต้ท้องฟ้าสีดำสนิท  ในภาพนี้ หัวหน้านักบินอวกาศกลับไปที่ยานซึ่งจอดอยู่ใกล้ภูเขาไฟ Camelot ที่เขาได้เก็บตัวอย่างก้อนหิน  ก้อนหินขนาดใหญ่ที่พุ่งออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟในขณะที่ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้น

หุบเหวลึก Hadley Rille
หุบเขาลึก ชื่อ Hadley Rille ตัดผ่านทุ่งราบที่ขอบทะเลแห่งฝนของดวงจันทร์ คดเคี้ยวกว่า 60 ไมล์ (100 กิโลเมตร) วิธีการที่มันเกิดขึ้นยังเป็นสิ่งลึกลับ แต่มันอาจจะเป็นช่องทางลาวาในสมัยโบราณ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นักบินอวกาศอพอลโลขับยานอวกาศลงไปที่ขอบ Hadley Rille เพื่อถ่ายรูปและศึกษาข้อมูล



ผลกระทบ
ดาวเคราะห์ชนกับโลกและระเบิดหินหลอมเหลวเข้าไปในอวกาศ

การก่อตัวของดวงจันทร์
เศษหินที่เป็นแผ่นกลม ๆ ก่อตัวขึ้น อนุภาครวมตัวกันอย่างช้า ๆ ก่อตัวเป็นดวงจันทร์









ดวงจันทร์เกิดขึ้นได้อย่างไร
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าดวงจันทร์เกิดขึ้นเนื่องมาจากการปะทะกันระหว่างโลกและดาวเคราะห์ เมื่อ 4.5 พันล้านปีที่ผ่านมา  เศษหินถูกแรงโน้มถ่วงดึงดูดเข้าด้วยกันและกลายเป็นดวงจันทร์

ลักษณะของดวงจันทร์ที่ปรากฏในช่วงเวลาต่างๆ กัน
ขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างด้านที่ถูกแสงอาทิตย์ รูปลักษณ์ต่าง ๆ ที่เราเห็น คือ ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม  กินเวลา 29.5 วัน (ข้างขึ้น 15 ข้าแรม 14.5)

ด้านไกลของดวงจันทร์
ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอดเวลา ด้านที่พวกเราไม่เคยเห็น คือ ด้านไกล ที่มนุษย์เห็นได้ด้วยยานอวกาศ มีเปลือกหนาและพื้นผิวพรุนกว่าด้านใกล้ แผนที่รูปแท่ง (ดูภาพ) แสดงถึงบริเวณพื้นที่สูงและต่ำของพื้นดินบนดวงจันทร์

มูลโดยรวมของดวงจันทร์
เส้นผ่าศูนย์กลาง.......................................................................................2,159 ไมล์ (3,474 กิโลเมตร)
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย ................................................................................ - 63 °F (-53 °C)
ความยาวของวันจันทรคติ .......................................................................... 27 วันโลก
ใช้เวลาในการโคจรรอบโลก ....................................................................... 27 วันโลก
แรงโน้มถ่วง (โลก = 1) ............................................................................ 0.17 


ข้อสังเกต

เราอาจจะบินไปถึงดวงจันทร์ โดยใช้เวลา 18 วัน ด้วยความเร็วของเครื่องบินจัมโบเจ็ท

ทุก ๆ ปี ดวงจันทร์จะลอยออกห่างโลก ประมาณ 1.48 นิ้ว (3.78 เซนติเมตร)

มีมนุษย์ จำนวน 12 คน ที่ไปเหยียบบนดวงจันทร์

ข้างขึ้น/ข้างแรม
ภาพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

No comments:

ที่มา:
1. DK Smithsonian, Knowledge Encyclopedea, First American Edition, 2013 Published in the United States.
2. Wikipedia, The Free Encyclopedia