ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ (The Sun)
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์แห่งความร้อนที่เกือบจะสมบูรณ์แบบ มีก๊าซเรืองแสง แหล่งพลังอำนาจของมันอยู่ลึกลงไปในแกนกลาง มีเตาพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้อนแรงไม่รู้จักหยุด ทำให้สสารกลายเป็นความร้อนและแสงอันบริสุทธิ์


ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าดาวฤกษ์ทั่วไปเล็กน้อย ใหญ่พอที่จะกลืนโลกได้ถึง 1,300,000 ลูก จุสสารในระบบสุริยะทั้งหมดถึง 99.8 เปอร์เซ็นต์ และแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากมวลมหาศาลนี้ทำให้ดาวเคราะห์ติดอยู่ในวงโคจรรอบตัวมันเอง เมื่อมองจากโลก ดวงอาทิตย์จะเป็นแหล่งของแสงและความอบอุ่นที่ค้ำจุนสิ่งมีชีวิต ซึ่งส่องสว่างให้กับพวกเราอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ถ้ามองเข้าไปใกล้ ๆ  จะเผยให้เห็นโลกแห่งความรุนแรงอย่างน่าอัศจรรย์ ที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์จะเดือดเป็นระเบิดด้วยการระเบิดมหาศาล พุ่งลูกไฟก๊าซเข้าไปในอวกาศ

ภายในดวงอาทิตย์
นักวิทยาศาสตร์แบ่งภายในดวงอาทิตย์ออกเป็น 3 ชั้น ต่าง ๆ  ดังนี้ 1.  แกนกลางหรือแก่น  2.  เขตแผ่รังสี (radiative zone) และ 3.  เขตพาความร้อน (convective zone) ทั้งสามชั้นนี้เกิดขึ้นจากก๊าซล้วน ๆ  แต่ตรงจุดศูนย์กลาง ก๊าซจะร้อนและหนาแน่นมากกว่า  ตรงจุดศูนย์กลางมีอุณหภูมิสูงถึง 27 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ (15 ล้านองศาเซลเซียส) และก๊าซมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำถึง 150 เท่า


ดวงอาทิตย์

1 วงเปลวสุริยะ (Loop prominence)
วงขนาดใหญ่ของก๊าซเรืองแสงขยายสูงเหนือพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยึดติดกับสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์เป็นพัลวัน การปะทุของก๊าซเหล่านี้ เรียกว่า วงเปลวสุริยะ อยู่ได้นานถึง 1 เดือน
เดือยแหลมของก๊าซ
ก๊าซร้อนพวยพุ่งออกจากพื้นผิวดวงอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ก่อตัวเป็นเดือยแหลมสูงตระหง่านเพียงสองสามนาทีก็ยุบลง การก่อตัวนี้ เรียกว่า หนามสุริยะ (spicules)  พวยพุ่งขึ้นสูงได้ถึง 1,000 ไมล์  มองจากด้านบนจะส่องแสงระยิบระยับคล้ายเส้นผมอยู่รอบ ๆ จุดสีดำ (sunspot)
แกนกลาง
ภายในแกนกลางร้อนและหนาแน่น กระบวนการปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นปล่อยพลังงานออกมา ก๊าซไฮโดรเจน 683 ล้านตันจะหลอมรวมเป็นก๊าซฮีเลียมในแกนกลาง ทุกวินาที
เขตแผ่รังสี (Radiative zone)
แกนภายนอก คือ เขตแผ่รังสี ซึ่งไม่หนาแน่นพอที่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น  พลังงานจากแกนภายนอกกระจายออกมาชั้นนอกช้ามาก
เขตพาความร้อน (convective zone)
ในเขตพาความร้อนนี้ มีฟองก๊าซร้อนมหึมาพวยพุ่งขึ้นสู่พื้นผิวดวงอาทิตย์ ก่อนที่จะเย็นและยุบตัวลง ถ่ายโอนพลังงานจากใจกลางดวงอาทิตย์ไปยังด้านนอก

โฟโตสเฟียร์ (Photosphere ชั้นบรรยากาศที่ติดกับผิวของดวงอาทิตย์)
พื้นผิวที่เห็นได้ชัดของดวงอาทิตย์ เรียกว่า โฟโตสเฟียร์  พลังงานแผ่รังสีเป็นดวงไฟออกจากที่นี้ไปสู่อวกาศ
7  ขนาดของโลกเมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์
เปลวสุริยะ (Solar flare)
การระเบิดตัวอย่างทันทีทันใดของพลังงานจากพื้นผิวดวงอาทิตย์ เรียกว่า เปลวสุริยะ  ปกติแล้ว  การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) จะตามเปลวสุริยะออกมาด้วยเสมอ
จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspots)
จุดดำบนดวงอาทิตย์ซึ่งจะเย็นกว่าบริเวณอื่น เรียกว่า จุดดับบนดวงอาทิตย์  จุดดับบนดวงอาทิตย์จำนวนมากจะเกิดขึ้นและดับลงเป็นวัฏจักรทุก 11 ปี
10  พื้นผิวคล้ายเมล็ดข้าว (Grainy surface – ผู้รู้โปรดแนะนำ)
ฟองก๊าซร้อนที่ลุกขึ้นภายในดวงอาทิตย์ทำให้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ดูคล้ายเมล็ดข้าว มีเม็ดกรวดเล็กประมาณ 4,000,000 เม็ดบนผิวดวงอาทิตย์แต่ละเม็ดกว้างประมาณ 600 ไมล์ (1,000 กิโลเมตร) กว้างและอยู่ยาวนานประมาณแปดนาที

การปล่อยพลังงาน



การหมุนรอบตัวเอง



การปล่อยมวล
การปล่อยพลังงาน
ใช้เวลาเพียงแปดนาทีที่แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมาถึงโลก แต่ใช้เวลาถึง 100,000 ปี ในการปล่อยพลังงานจากแกนกลางเดินทางมาถึงผิวดวงอาทิตย์และเปล่งออกมาเป็นแสง สาเหตุที่มันเดินทางช้าเพราะถูกอะตอมเป็นล้านล้านดูดซึมและปล่อยออกมาในขณะผ่านเขตแผ่นรังสีที่หนาแน่น

การหมุนของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ก็เหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในอวกาศ นั่นคือหมุนรอบตัวเอง ดวงอาทิตย์ไม่เหมือนโลกที่หมุนรอบตัวเองเพราะเป็นวัตถุที่เป็นก้อนแข็ง แต่ดวงอาทิตย์เป็นลูกก๊าซและหมุนด้วยความเร็วที่ต่างกันในสถานที่ที่ต่างกัน บริเวณเส้นศูนย์สูตรใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 25 วัน  ณ บริเวณขั้วแม่เหล็กใช้เวลา 34 วัน

การปลดปล่อยมวล
ฟองก๊าซที่ร้อนจัด (พลาสมา – Plasma) ขนาดใหญ่ แต่ละฟองมีมวลประมาณ 1.1 พันล้านตัน ระเบิดจากดวงอาทิตย์ถึงสามครั้งต่อวัน ฟองเหล่านี้ เรียกว่า การปลดปล่อยมวลโคโรนา แผ่กว้างถึงล้านไมล์ในไม่กี่ชั่วโมงแล้วระเบิดออกมา ส่งแรงระเบิดของอนุภาคประจุไฟฟ้าพุ่งข้ามระบบสุริยะ   บางครั้ง คลื่นระเบิดชนกับโลกส่องสว่างบนท้องฟ้าแถบขั้วโลกมีแสงออโรร่าอันสดใสผิดปกติ

ข้อมูลเกี่ยวกับดวงอาทิตย์

เส้นผ่าศูนย์กลาง ...................................................................................865,374 ไมล์ (1,393,684 กิโลเมตร)
ระยะทางจากโลก .................................................................................93 ล้านไมล์ (150 ล้านกิโลเมตร)
มวล (โลก = 1) ...................................................................................333,000
อุณหภูมิพื้นผิว ....................................................................................10,000 °F (5,500 ° C)
อุณหภูมิแกนกลาง................................................................................27 ล้าน° F (15 ล้าน° C)

No comments:

ที่มา:
1. DK Smithsonian, Knowledge Encyclopedea, First American Edition, 2013 Published in the United States.
2. Wikipedia, The Free Encyclopedia